กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด แบบจำลอง SU Model

สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้น จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือ มีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือ การออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ และผลผลิตของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim) และจุดมุ่งหมาย (goal) ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอนจะมีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลองดังนี้


              พื้นฐานแนวคิดและที่มาของแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU model เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะได้รับการพัฒนามาจากสามเหลี่ยมมุมบนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสามเหลี่ยมมุมบนมาจากการที่ มล.ปิ่น มาลากุล อธิการบดีและรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้ให้แนวนโยบายการพัฒนานักศึกษา มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ แนวคิดดังกล่าวนี้เมื่อนำมาพิจารณาถึงเป้าหมายการศึกษา ที่มุ่งการเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข เมื่อนำมาปรับใช้กับเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตร จะได้ว่า เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้ (knowledge) ก็คือมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน (learner) ก็คือมุ่งให้เป็นคนดี และเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งสังคม (society) ก็มุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในที่นี้จะประกอบไปด้วย 3 ด้าน นั่นคือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม ซึ่งแต่ละด้านก็จะมีปรัชญาแต่ละชนิดกำกับ มีการพัฒนาจากรูปสามเหลี่ยมที่นำไปสู่การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร