CIPP Model การประเมินโครงการตามแนวคิดของ
สตัฟเฟิลบีม
แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel
L. Stufflebeam) ได้อธิบายความหมายของการประเมินผลทางการศึกษาเอาไว้ว่าเป็นกระบวนการการบรรยายการหาข้อมูล
และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจหาทางเลือก
รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีมเป็นรูปแบบที่เหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ
จะประกอบไปด้วยมิติที่สำคัญ 2 ประการ
1.มิติด้านข้อมูลที่มีอยู่ (Information Grasp)
2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก
สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า
Incremental
3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า
Neomobilistic
4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า
Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน
จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน
ในการตัดสินใจ
ถ้าพิจารณาในแง่ของวิธีการกับผลที่เกิดขึ้นและสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
เราอาจจำแนกการตัดสินใจได้เป็น 4 ประเภท คือ
สตัฟเฟิลบีมได้ให้แนวคิดไว้ว่า
การประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งสำคัญที่เราต้องประเมินอยู่ 4 ด้าน คือ
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation : C ) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้
ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินตัวป้อน
(Inputs Evaluation : I ) อาจทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P ) มีด้วยกันหลายวิธี
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation : P )
เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขี้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย
หรือปรับเปลี่ยนโครงการ แต่การประเมินผลแบบนี้มิได้ให้ความสนใจต่อเรื่องผลกระทบ
(Impact) และผลลัพธ์ (Outcome) ของนโยบาย / แผนงาน / โครงการเท่าที่ควร