ศ.
น.พ.วิจารณ์ พานิชได้กล่าวว่า
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย
และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
· Creativity
& innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
· Cross-cultural
understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
· Collaboration,
teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม
และภาวะผู้นำ)
· Communications,
information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ
และรู้เท่าทันสื่อ)
· Computing
& ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
· Career
& learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้
(knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning
person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้
และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning
skills)
ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว
เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์
และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์ ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน
เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21
การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น
ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว
การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
ครูที่รักศิษย์ เอาใจใส่ศิษย์
แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ
จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ
ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน
ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง)
ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน”
(teacher) ไปเป็น “ครูฝึก”
(coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้”
(learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท
าหน้าที่นี้
โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC
(Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)
ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก
การเรียนรู้ในศตวรรษที่21ต้องก้าวข้าสาระวิชา
ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่
๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้
นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้
และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ
แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL
(Project-Based Learning)
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ
• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
• ความรู้ด้านสารสนเทศ
• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
• ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
• ความยืดหยุ่นและปรับตัว
• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้accountability)
• ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)
นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
• หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21
• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21