หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษาการจัดการศึกษาประเภทใดและระดับใดก็ ดีจะขาดหลักสูตรไม่ได้ เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกำหนดไว้ว่า จะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก
และสังคม หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้
หลักสูตรยังเป็นเครื่องชี้ให้เห็นโฉมหน้าของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร ข้อมูลที่สำคัญที่ควรศึกษาวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียน
เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนครูในโรงเรียน
จำนวนอาคารสถานที่ และห้องเรียน จำนวนอุปกรณ์และสื่อต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ ความต้องการของครู
ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการพิจารณาว่าโรงเรียนมีความพร้อมหรือไม่
ระดับไหนอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่าจะมีแนวปฏิบัติในการจัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรอย่างไรจึงจะเหมาะสม
ดับศักยภาพของโรงเรียนมากที่สุด นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนและสภาพสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็เป็นข้อมูลที่ผู้จัดทำหลักสูตรหรือผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษา เช่น สภาพแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง หรือ สังคมโดยทั่วไปของผู้ใช้หลักสูตรหรือโรงเรียนนั้นเป็นอย่างไร การสนับสนุนหรือความร่วมมือของชุมชน สังคม ที่มีต่อโรงเรียน เป็นอย่างไร ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร
เช่น การกำหนดวิชาเรียนต่างๆ
เพราะบางรายวิชาสภาพชุมชนและสังคมไม่สามารถเอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควร การศึกษาก็ไม่บรรลุผล เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชนและสังคมที่โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ สามารถค้นคว้าและหาข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ
การสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการศึกษาข้อมูลดังกล่าวจำเป็นสำหรับ การพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับธรรมดาและระดับชาติ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ทุกโรงเรียนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กาญจนา คุณารักษ์ (2527 : 82) ได้แยกรายละเอียดไว้ 6 ประการ คือ
1) การเปลี่ยนแปลงของสังคม
2) การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
3) การเมืองและการปกครอง
4) แนวความคิดและผลการศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตวิทยา
5) ความก้าวหน้าทางวิทยาการเทคโนโลยีและ
6) บาบาทของสถานบันศึกษาและสื่อมวลชน
นอกจากนี้
มิเชลลิส กรอสแมน และสก๊อต (Michealis, Grossman and Scott. 1975 : 175) ยังได้เสนอแนวคิดหลักสำคัญ
5 ประการ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1) พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาปัญหาข้อถกเถียงและการปฏิบัติตลอดจนความสำเร็จและความล้มเหลวของหลักสูตรเดิม
2) พื้นฐานทางด้านปรัชญาซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเค้าโครงของค่านิยมและความเชื่อที่สัมพันธ์กับการกำหนดความมุ่งหมาย
การเลือกและการใช้ความรู้ ความหมายและวิธีการดำเนินการและมิติอื่น ๆ ของการศึกษา
3) พื้นฐานทางสังคมซึ่งจะเป็นแหล่งข้อมูลค่านิยม การเปลี่ยนแปลง ปัญหา ความกดดันและแรงขับทางสังคมที่จะนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
4) พื้นฐานจิตวิทยา ซึ่งประกอบด้วยความคิดเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตลอดจนการเรียนรู้ของเด็ก 5) พื้นฐานเกี่ยวกับสาขาวิชา ซึ่งจะเปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับมโนมติ ข้อมูลต่าง
ๆ แบบอย่างวิธีการและกระบวนการค้นคว้าอื่นๆ ที่อาจจะใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการเรียนการสอน
ซึ่งบิชอบ (Bishop . 1985 : 88) มีความเห็นสอดคล้องกันว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้นมีอยู่ด้วยกัน
5 ด้าน แต่บิชอบไม่ได้เรียกว่าเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร เขาใช้คำว่า “ตัวกำหนดหลัก” ซึ่งจัดเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย
1) ปรัชญา ซึ่งหมายรวมถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา ความนึกคิดทางลัทธิต่างๆ และอื่นๆ
2) การเงินรวมถึงทรัพยากรบุคคลและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
3) สังคมและวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงภาษาด้วย
4) ความรู้ ซึ่งรวมถึงเนื้อหาวิชา มโนทัศน์ และกระบวนการทางสมอง
5) จิตวิทยาซึ่งประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้วิธีสอนและอื่น ๆ
จากแนวคิดด้านพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
พอสรุปได้ว่า พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้น ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่
1) พื้นฐานทางด้านปรัชญา
2) พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
3) พื้นฐานทางด้านประวัติศาสตร์
4) พื้นฐานทางด้านสังคมวิทยาซึ่งรวมถึงด้านด้านวัฒนธรรมและภาษา
การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ
5) พื้นฐานทางด้านสาขาวิชาที่ต้องการจะพัฒนาหลักสูตรและ
6) ความก้าวหน้าวิทยาการ เทคโนโลยี บทบาทของสถาบันการศึกษาและสื่อมวลชน
ซึ่งจัดเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องและทันสมัยตอบรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรอบรู้ สามารถเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและสอดคล้องตอบรับต่อความต้องการของสังคมในปัจจุบัน