รูปแบบการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์





โรเบอร์ต แฮมมอนด์ มีแนวคิดการประเมินหลักสูตรโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลักคล้ายไทเลอร์ แต่แฮมมอนด์ได้เสนอแนวคิดที่ต่างจากไทเลอร์ว่า โครงสร้างสำหรับการประเมินนั้นประกอบด้วยมิติใหญ่ๆหลายมิติ แต่ละมิติก็จะประกอบด้วยตัวแปรสำคัญอีกหลายตัวแปร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรขึ้นอยู่กับการปะทะสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในมิติต่างๆดังนี้ มิติทั้ง 3 ได้แก่ มิติด้านการเรียนการสอน มิติด้านสถาบัน และมิติด้านพฤติกรรม
               1.มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
                      1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
                      1.2 เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
                      1.3 วิธีการ หลักการเรียนรู้การออกแบบพฤติกรรมการเรียน
                      1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ        
                      1.5 งบประมาณหรือเงินที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
               2.มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร
                       2.1 นักเรียน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
                       2.2 ครู องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์การสอน
                      2.3 ผู้บริหาร องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
                       2.4 ผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน                                            2.5 ครอบครัว องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพ ขนาดครอบครัว รายได้
                       2.6 ชุมชน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร ความเชื่อ
 3.มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรู้ พฤติกรรมด้านทักษะ พฤติกรรมด้านเจตคติ
               แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปัจจุบันแล้วจึงกำหนดทิศทางและกระบวนของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีดังนี้
               1.กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมิน  ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
               2.กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสภาบันให้ชัดเจน
               3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง
                       3.1.พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
                      3.2.เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
                      3.3.เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
                      3.4.ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
                      3.5.วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
                       3.6.พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง


               สรุป แนวคิดในการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ใช้แนวคิดของไทเลอร์เป็นพื้นฐานในการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แต่แฮมมอนด์ได้ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ตัวแปรของมิติด้านการสอน และมิติด้านสถาบัน ซึ่งอาจมีผลต่อความสำเร็จของหลักสูตรนั้นด้วย