ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงเรียนบ้านแม่สา



โรงเรียนบ้านแม่สา  ตั้งอยู่ เลขที่ 50 หมู่ที่ 4   รหัสประจำบ้าน 5007- 0148571 ตำบลแม่สา  อำเภอแม่ริม    จังหวัดเชียงใหม่    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่  11 มกราคม  พ.ศ. 2465  โดยอาศัยศาลาวัดแม่สาน้อย (วัดสว่างบันเทิงในปัจจุบัน) ชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลท่าไคร้  วัดแม่สาน้อย  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
(โดย นายโกวิท หมื่นทา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่สา)

            โรงเรียนบ้านแม่สาได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  โดยเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551    ในปีการศึกษา  พุทธศักราช  2552    ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาครั้งนี้  โรงเรียนบ้านแม่สาได้ยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ยึดนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษา   ความต้องการของท้องถิ่น  และความต้องการของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา    เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้  ทักษะ  เจตคติ  และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านแม่สา    มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน    ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย  ความรู้ คุณธรรม   มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก     ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ     การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้  และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี     และมีความรู้และทักษะพื้นฐานการประกอบอาชีพ     ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    มีจิตสาธารณะ  โดยยึดวิถีดำเนินชีวิตตามแบบวัฒนธรรมล้านนา

 ภารกิจ
1.  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนทุกคน                                                                                                                2.  ส่งเสริมนักเรียนให้มีทักษะภาษาไทย
3.  ส่งเสริมนักเรียนให้มีความรู้พื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  .. 2551
4.  ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณธรรม  จริยธรรมที่ดีงาม และมีทักษะการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5.  ส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
6.  ส่งเสริมนักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
7.  ประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน
8. ส่งเสริมนักเรียนให้มีจิตสำนึกในความเป็นไทย และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะมุ่งทำประโยชน์ สร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม
9.ส่งเสริมนักเรียน ให้รู้เท่าทันและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้

 เป้าหมาย
1.  จัดการศึกษาให้นักเรียนในเขตบริการได้ครบทุกคน
               2.  นักเรียนได้เรียนจบการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน
        3. นักเรียนทุกคนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม
4.  นักเรียนทุกคนมีความรู้  มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพและ ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกื้อกูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.  นักเรียนทุกคนมีความสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            โรงเรียนบ้านแม่สา  มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะหลักพื้นฐาน  5  ประการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551    ดังนี้
            1.  ความสามารถในการสื่อสาร 
            2.  ความสามารถในการคิด
            3.  ความสามารถการแก้ปัญหา
            4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
            5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักค่านิยมพื้นฐาน 12ประการ 
ปรัชญา
การศึกษา  คือ  การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์อย่างเต็มศักยภาพ
1.1 .4/1, .4/2 ,  .4/3,  .4/4          
2.1 .4/1, .4/2,  .4/3 ,  .4/4,  .4/5 , .4/6  .4/7  .4/8        
3.1 4/1, .4/2,   .4/3,  .4/4 , .4/5 , .4/6
4.1 4/1, .4/2,   .4/3,  .4/4 , .4/5,  .4/5 ,  .4/6        
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน




            โรงเรียนบ้านแม่สามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ประกอบด้วย  8  ประการ  ดังนี้
1.  รักชาติ  ศาสน์   กษัตริย์
2.  ซื่อสัตย์สุจริต
3.  มีวินัย
4.  ใฝ่เรียนรู้
5.  ู่อย่างพอเพียง
6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
7.  รักความเป็นไทย
8.  มีจิตสาธารณะ
  
 พันธกิจ

2. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้สามารถนำกระบวนการคิดมาจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านทักษะการคิดให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ส่งเสริมให้บุคลากรและนักเรียน เป็นผู้ที่ดำรงชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย       

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านแม่สา มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม โดยใช้กระบวนการคิดและเทคโนโลยี อยู่อย่างพอเพียง ดำรงตนในสังคมประชาธิปไตย       




รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ระดับประถมศึกษา

รายวิชาพื้นฐาน
                        11101 ภาษาไทย                                           จำนวน   200  ชั่วโมง                  
                        12101 ภาษาไทย                                           จำนวน   200  ชั่วโมง               
                        13101 ภาษาไทย                                           จำนวน   200  ชั่วโมง               
                        14101 ภาษาไทย                                           จำนวน   200  ชั่วโมง               
                        15101 ภาษาไทย                                           จำนวน   200  ชั่วโมง               
                        16101 ภาษาไทย                                           จำนวน   200  ชั่วโมง            

สาระเพิ่มเติม
                   
                        14201  นิทานพื้นบ้าน                                    จำนวน   40  ชั่วโมง               
                        15201  ตำนานพื้นบ้าน                                  จำนวน   40  ชั่วโมง                
                        16201  วรรณกรรมล้านนา                             จำนวน   40  ชั่วโมง            


คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
  11101 ภาษาไทย                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้   ภาษาไทย
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1                                                                เวลา   200  ชั่วโมง                  
……………………………………………………………………………………………………

            อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ   สามารถบอกความหมายของคำ และข้อความที่อ่านตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน   เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน    คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน  บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน  มีมารยาท ในการอ่าน  คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ    มีมารยาทในการเขียน    ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆ และปฏิบัติตามตอบคำถามและเล่าเรื่องที่ฟังและดู  ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู    พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์   มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด  บอกและเขียนพยัญชนะ   สระ วรรณยุกต์และ     เลขไทย   เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ  เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่าย ๆ ต่อคำคล้องจองง่ายๆ  บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรม  ร้อยแก้ว  และร้อยกรองสำหรับเด็ก     ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
            โดยใช้กระบวนการฟัง  กระบวนการพูด   กระบวนการอ่านออกเสียง  อ่านในใจ  กระบวนการเขียน  กระบวนการกลุ่ม  กระบวนการคิด   และกระบวนการเรียนการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
            เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการอ่าน   การเขียน   การคิด   สามารถนำความรู้ไปใช้ในสาระต่างๆ  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
           
รหัสตัวชี้วัด
1.1  1 / 1,    1 /2,   1 /3,    1 /4,    1 /5,    1 /6,    1 /7,    1 /8   
2.1  1 / 1,   1 /2,    1 /3  
3.1   1 /1,   1 /2 ,  1 /3,   1 /4,   1 /5  
4.1  1 /1 ,   1 /2,   1 /3,   1 /4,   1 /5     
5.1  1 /1 ,   1 /2              
รวมทั้งหมด   23   ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน 12101   ภาษาไทย      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
5.1 4/1, .4/2,   .4/3  , .4/4           
รวมทั้งหมด  28  ตัวชี้วัด


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                                       เวลา   200 ชั่วโมง                               
………………………………………………………………………………………………………

            อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง  ข้อความ  และบทร้อยกรองง่าย ๆ ได้ถูกต้อง  อธิบายความหมายของคำ  และข้อความที่อ่าน  ตั้งคำถาม  ตอบคำถาม  ระบุใจความสำคัญ  แสดงความคิดเห็น  คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน  อ่านหนังสือตามความสนใจ  อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย  ปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ  และมีมารยาทในการอ่าน  คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนเรื่องสั้น ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์  จินตนาการ  และมีมารยาทในการเขียน  ฟังคำแนะนำ  คำสั่งที่ซับซ้อนและปฏิบัติตาม  เล่าเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  บอกสาระสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู  ตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์และมีมารยาทในการฟัง ดูและพูด  บอก  เขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์และเลขไทย  เขียนสะกดคำ และบอกความหมายของคำ  เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร  บอกลักษณะคำคล้องจอง  เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ  ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก
            โดยใช้ทักษะกระบวนการอ่านออกเสียง  อ่านในใจ  อ่านจับใจความ  ทักษะการคัดลายมือ  ทักษะการเขียนเรื่อง  ทักษะการเขียนสื่อสาร  ทักษะการฟัง  การพูด  การเล่าเรื่อง  การแสดงความคิดเห็น  ทักษะการพูดสื่อสาร  ทักษะการเขียนสะกดคำ  ทักษะการแต่งประโยค  ทักษะการท่องอาขยาน   บทร้อยกรอง  และบทร้องเล่นในท้องถิ่น 
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด
1.1  .2/1,  .2/2,  .2/3,  .2/4,  .2/5,  .2/6,  .2/7,  .2/8
2.1  .2/1,  .2/2,  .2/,   .2/4   
3.1 . 2/1,  .2/2,  .2/3,   .2/4,  .2/5 , .2/6,  .2/7
4.1 .2/1,  .2/2,  .2/3,   .2/4,  .2/5
5.1 .2/1,  .2/2 , .2/3
รวมทั้งหมด  27  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
  13101  ภาษาไทย                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้   ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                                 เวลา   200  ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………
การอ่านออกเสียงคำข้อความ เรื่องสั้นๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว  การอธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน  การตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน     ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ   สรุปความรู้และข้อคิดจากข่าวและเหตุการณ์  การอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอ   การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบายและปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ   การอธิบายความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ   มีมารยาทในการอ่านการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด   การเขียนบรรยายเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ได้อย่างชัดเจน  การเขียนบันทึกประจำวัน   การเขียนจดหมายลาครู   การเขียนเรื่องตามจินตนาการ   และมีมารยาทในการเขียน  การเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  บอกสาระสำคัญจากการฟังและการดูตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์  มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด    เขียนสะกดคำและบอก
ความหมาย    ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ      แต่งประโยค แต่งคำคล้องจองและคำขวัญ  เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและ    ภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ  ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม
             โดยใช้กระบวนการอ่านออกเสียง  อ่านจับใจความ  กระบวนการเขียนโดยเขียนตามรูปแบบในลักษณะการเขียนบรรยาย   เขียนบันทึก  เขียนจดหมาย  การเขียนเรื่องตามจินตนาการ   กระบวนการพูด  สามารถพูดแสดงความคิดเห็น  แสดงความรู้สึกและสามารถเล่าเรื่อง        รายการที่ดู  ฟังจากข่าวและเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีมารยาทในการเขียน  ฟัง  ดูและพูด
            เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  รู้จักเพลงพื้นบ้านและเพลงกล่อมเด็ก  และปลูกฝังความชื่นชมวัฒนธรรมท้องถิ่น  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี  ที่อ่าน  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ  
รหัสตัวชี้วัด
1.1 .3/1, .3/2,  .3/3,  .3/4 , .3/5,  .3/6 , .3/7 , .3/8 ,  .3/9            
2. 1 .3/1, .3/2, .3/3,  .3/4,  .3/5,  .3/6 
3.1 .3/1, .3/2,  .3/3, .3/4,  .3/5 , .3/6                   
4.1  .3/1,  .3/2, .3/3,  .3/4  .3/5 , .3/6   
5.1 .3/1  , .3/2, .3/3 , .3/4
รวมทั้งหมด  31    ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
   14101     ภาษาไทย                                                             กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
 ชั้นประถมศึกษาปีที่   4                                                             เวลา     160    ชั่วโมง 
………………………………………………………………………………………………
                 อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว   บทร้อยกรอง   อธิบายความหมายของคำ   ประโยคและสำนวน    อ่านเรื่องสั้น   ตอบคำถามจากเรื่อง    แยกแยะข้อเท็จจริง   ข้อคิดเห็น   คาดคะเนเหตุการณ์   ระบุเหตุผล   สรุปความรู้และข้อคิด  อ่านหนังสือที่มีคุณค่า   แสดงความคิดเห็น   คัดลายมือ   เขียนสื่อสาร   เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด    เขียนย่อความ   เขียนจดหมาย   เขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า   เขียนเรื่องตามจินตนาการ   มารยาทในการเขียน     จำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจาการฟังและดู   พูดสรุปความจากการฟังและดู   พูดแสดงความรู้  ความคิดเห็นและ   ความรู้สึก   ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล   รายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้า   มารยาทในการฟัง   การดูและการพูด    สะกดคำและบอกความหมายของคำ   ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค    ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ   แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา    แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ   บอกบอกความหมายของสำนวน   เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น   ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านหรือนิทานคติธรรม   อธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง   ร้องเพลงพื้นบ้าน  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
                 โดยใช้หลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง ทักษะการอ่านจับใจความ แปลความ   ตีความ   อธิบาย  วิเคราะห์ความและสรุปความ   ทักษะการฟัง   การพูด   การเล่าเรื่อง   การแสดงความคิดเห็น   การพูดรายงาน   หลักการคัดลายมือ หลักการเขียนสื่อสาร   เขียนเรียงความ   เขียนย่อความ   เขียนจดหมายและจดบันทึก  
                 เพื่อให้รักการเรียนรู้ภาษาไทย ภูมิใจในความเป็นไทย สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย ตัวเลขไทย ภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย   วัฒนธรรมท้องถิ่น   สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีทัศนคติต่อการเรียนภาษาไทย  มีสุนทรียภาพในการใช้ภาษา     และสามารถนำภาษามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
รหัสตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
15101   ภาษาไทย                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                                 เวลา   160 ชั่วโมง
.....................................................................................……………………………………………
อ่านออกเสียงบทร้อยกรองและร้อยแก้วได้ถูกต้อง   อ่านเรื่องสั้น  อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย   คำสั่ง  ข้อแนะนำ  และอ่านหนังสือตามความสนใจ  อธิบายความหมายของคำ  ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร  ความคิดจากเรื่องที่อ่าน   ความหมายของข้อมูล  แผนที่  แผนภูมิ  และกราฟ      แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน    มีมารยาทในการอ่าน   คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด      เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจนและเหมาะสม     เขียนแผนภาพโครงเรื่อง   แผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียนเขียนเรียงความ    ย่อความ   จดหมายส่วนตัว    กรอกแบบรายการต่างๆ         เขียนเรื่องจากจินตนาการและสร้างสรรค์   มีมารยาทในการเขียน     พูดแสดงความรู้  ความเข้าใจตามจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดูตั้งคำถามและตอบคำถาม  วิเคราะห์ความจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล      พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้า   พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ  มีมารยาทในการฟัง  ดู พูด  วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค   ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล   รวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย    ระบุลักษณะของประโยค   แต่งบทร้อยกรอง   วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต   แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน   เล่านิทานพื้นบ้าน อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง   ท่องจำบทอาขยานที่กำหนด  
              โดยใช้หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรอง     ทักษะการอ่านจับใจความ    แปลความ  ตีความ   อธิบาย     วิเคราะห์ความและสรุปความ     ทักษะการฟัง    การพูด    การเล่าเรื่อง    การแสดงความคิดเห็น   การพูดรายงาน   หลักการคัดลายมือ   หลักการเขียนสื่อสาร   ได้แก่    การเขียนเรียงความ  ย่อความเขียนจดหมายและจดบันทึก       
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการอ่าน  การเขียน  สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจและใช้ในชีวิตประจำวัน  มีจิตสาธารณะ  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
รหัสตัวชี้วัด                          
 1.1 .5/1, .5/2,    .5/3,    .5/4,    .5/5,    .5/6,    .5/7  ,  .5/8    .5/9            
2.1 .5/ 1,    .5/2 ,    .5/3,    .5/4 ,  .5/5,    .5/6,    .5/7 ,    .5/8   .5/9             
3.1 .5 /1,   .5/2,     .5/3,    .5/4,    .5/5,    .5/6              
4.1 .5/1 ,  .5/2,  .5/3,  .5/4,  .5/5,  .5/6            
 5.1 .5/1,  .5/2 ,  .5/3,   .5/4        
รวมทั้งหมด   34    ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
16101  ภาษาไทย                                                                          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                                        เวลา      160     ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………………
            อ่านออกเสียงบทร้อยกรองและร้อยแก้ว อ่านเรื่องสั้น  อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย   คำสั่ง  ข้อแนะนำ  และอ่านหนังสือตามความสนใจได้ถูกต้อง   อธิบายความหมายของคำ  ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร  จากเรื่องที่อ่าน   ความหมายของข้อมูล  แผนที่  แผนภูมิ  และกราฟ    อธิบายคุณค่าที่ได้รับ   แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน    ไปตัดสินใจในการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิต ประจำวัน  คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด      เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจนและเหมาะสม     เขียนแผนภาพโครงเรื่อง   แผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียนเขียนเรียงความ    ย่อความ   จดหมายส่วนตัว    กรอกแบบรายการต่างๆ         เขียนเรื่องจากจินตนาการและสร้างสรรค์   พูดแสดงความรู้  ความเข้าใจตามจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดูตั้งคำถามและตอบคำถาม  วิเคราะห์ความจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล      พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้า   พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ  ดู พูด  วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค   ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล   รวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย    ระบุลักษณะของประโยค   แต่งบทร้อยกรอง   วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต        แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน   เล่านิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นตนเองและท้องถิ่นอื่น   อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  
              โดยใช้หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรอง     ทักษะการอ่านจับใจความ    แปลความ  ตีความ   อธิบาย     วิเคราะห์ความและสรุปความ     ทักษะการฟัง    การพูด    การเล่าเรื่อง    การแสดงความคิดเห็น   การพูดรายงาน   หลักการคัดลายมือ   หลักการเขียนสื่อสาร  
                เพื่อให้เกิดความรู้ด้าน    การเขียนเรียงความ  ย่อความ     เขียนจดหมายและจดบันทึก        สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจและใช้ในชีวิตประจำวัน  มีจิตสาธารณะ  คุณธรรม จริยธรรม  ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
รหัสตัวชี้วัด                      
1.1 .6/1 ,  .6/2 ,   .6/3,    .6/4 ,   .6/5,    .6/6,    .6/7 ,   .6/8 ,   .6/9            
2.1 .6/ 1,   .6/2,    .6/3,    .6/4 ,  .6/5,    .6/6,    .6/7 ,    .6/8,   .6/9             
3.1 .6 /1,   .6/2  ,   .6/3,    .6/4,    .6/5,    .6/6              
4.1 .6/1 ,  .6/2  ,.6/3,  .6/4 , .6/5  ,.6/6,             
5.1 .6/1,  .6/2,   .6/3,   .6/4        
รวมทั้งหมด    34   ตัวชี้วัด

รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับมัธยมศึกษา

รายวิชาพื้นฐาน
            21101 ภาษาไทย                                           จำนวน   60  ชั่วโมง  1.5       หน่วยกิต         
            21102 ภาษาไทย                                           จำนวน   60  ชั่วโมง  1.5        หน่วยกิต     
            22101 ภาษาไทย                                           จำนวน   60  ชั่วโมง   1.5       หน่วยกิต      
            22102 ภาษาไทย                                           จำนวน   60  ชั่วโมง    1.5       หน่วยกิต      
            23101 ภาษาไทย                                           จำนวน   60  ชั่วโมง    1.5       หน่วยกิต      
            23102 ภาษาไทย                                           จำนวน   60  ชั่วโมง     1.5      หน่วยกิต  

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
21101  ภาษาไทย 1                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   ภาคเรียนที่ 1          เวลา   60      ชั่วโมง            จำนวน     1.5        หน่วยกิต
.............................................................................................................................................................
            ฝึกการอ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้องตามทำนองและหลักวิธีการอ่าน  จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน  ระบุเหตุผล แสดงความคิดเห็นจากข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น อธิบายความหมายคำที่มีหลากความหมายโดยเปรียบเทียบจากบริบทต่าง ๆ จากเรื่องที่ได้อ่าน คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และ สละสลวย เขียนเรียงความ เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน เขียนแสดงความคิดเห็นจากสื่อที่ได้ฟัง ได้อ่าน และดู พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ อธิบายลักษณะของเสียงภาษาไทย ศึกษาการสร้างคำในภาษาไทย ได้แก่ คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำพ้องรูป พ้องเสียง พ้องความหมาย วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูด ภาษาเขียนแต่งบทร้อยกรงอประเภทกาพย์ยานี11 บทร้อยกรองท้องถิ่นเช่นค่าวฮ่ำ ศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน ท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า สามารถนำความรู้และข้อคิดจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การดู การพูด และการเขียน
            โดยใช้หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรอง ทักษะการอ่านจับใจความ ตีความ อธิบายวิเคราะห์ความและสรุปความ หลักการคัดลายมือ หลักการเขียนสื่อสาร ได้แก่การเขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย เขียนแสดงความคิดเห็น ใช้ทักษะการฟัง การพูด การเล่าเรื่อง การแสดงความคิดเห็น การประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อ ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ ใช้หลักการใช้ภาษาได้แก่ ลักษณะของเสียงในภาษาไทย หลักการสร้างคำ การวิเคราะห์ภาษาพู ภาษาเขียน หลักการแต่งบทร้อยกรอง หลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม
            เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด     
1.1     .1/1,  .1/2,  .1/3,  .1/5,  .1/6,  .1/8,  .1/9
2.1     .1/1,  .1/2,  .1/3,  .1/5,  .1/6,  .1/7
3.1     .1/1,  .1/2,  .1/3,  .1/4
4.1     .1/1,  .1/2,  .1/4 , .1/5 
5.1     .1/1,  .1/2,  .1/3,  .1/4 , .1/5
รวมทั้งหมด  26  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
 21102  ภาษาไทย 2                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1       ภาคเรียนที่ 1          เวลา   60  ชั่วโมง           จำนวน      1.5    หน่วยกิต
.............................................................................................................................................................
            ฝึกการอ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้องตามทำนองและหลักวิธีการอ่าน  จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน  ระบุเหตุผล แสดงความคิดเห็นจากข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น อธิบายความหมายคำที่มีหลากความหมายโดยเปรียบเทียบจากบริบทต่าง ๆ จากเรื่องที่ได้อ่าน ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และ สละสลวย เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และ สละสลวย เขียนเรียงความ เขียนบรรยายประสบการณ์โดยระบุสาระสำคัญและรายละเอียดสนับสนุน เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน เขียนแสดงความคิดเห็นจากสื่อที่ได้ฟัง ได้อ่าน และดู เขียนการดูและการสนทนา  ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ เข้าใจธรรมชาติของภาษา และหลักภาษาไทย รักษาภูมิปัญญาทางภาษา เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางภาษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน ท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรอง มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การดู การพูด และการเขียน
            โดยใช้หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรอง ทักษะการอ่านจับใจความ ตีความ อธิบายวิเคราะห์ความและสรุปความ หลักการปฏิบัติตามเอกสารคู่มือ หลักการเขียนสื่อสาร ได้แก่การเขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย เขียนแสดงความคิดเห็น การเขียนรายงานโครงงาน ใช้ทักษะการฟัง การพูด การประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อ ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ การพูดรายงาน ศึกษาวิเคราะห์คำ และหน้าที่ของคำในประโยค รวมถึงคำในท้องถิ่น จำแนกและใช้สำนวนคำพังเพย สุภาษิตไทย และท้องถิ่น นำไปใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม หลักการคิดวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม
            เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด     
1.1     .1/1,  .1/2,  .1/3,  .1/4 ,  .1/5,   .1/6,    .1/8,   .1/9
2.1     .1/1,  .1/2 , .1/3,  .1/4 ,  .1/5,   .1/6,   .1/7,   .1/8,   .1/9
3.1     1/5 , .1/6 
4.1     1/3,  .1/6 
5.1     1/1 ,.1/2 ,.1/4,  .1/5       
รวมทั้งหมด  25   ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
 22101    ภาษาไทย 3                                                          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2      ภาคเรียนที่ 1           เวลา  60  ชั่วโมง                  จำนวน     1.5   หน่วยกิต
.............................................................................................................................................................
            อ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ จับใจความสำคัญ สรุปความ และ  อธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน เขียนผังความคิดจากบทเรียนที่อ่าน วิเคราะห์ข้อมูล จำแนกนา ข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เขียนบรรยาย เขียนพรรณ เขียนเรียงความ เขียนย่อความ จากเรื่องที่อ่าน เขียนจดหมายธุรกิจ พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู วิเคราะห์ข้อเท็จจริงข้อคิดเห็น และความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ วิเคราะห์โครงสร้างของประโยคทั้ง 3 ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง  สรุปเนื้อหา วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมท้องถิ่นที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การดู การพูดและการเขียน
            โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การพูด การคิดวิเคราะห์ การปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม และหลักการอ่านออกเสียงมีบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง ทักษะการอ่านจับใจความสรุปความ อธิบายวิเคราะห์ความ ทักษะการฟัง การพูด การเล่าเรื่อง การแสดงความคิดเห็น การพูดวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น  หลักการคัดลายมือ หลักการเขียนสื่อสาร
            เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจด้านการเขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด     
1.1     . 2/1,   .2/2 ,   .2/3,    .2/5 ,   .2/8 
2.1     2/1,   .2/2,     .2/3,   .2/4 ,    .2/6 
3.1     2/1,   .2/2,   .2/3,   .2/6 
4.1       2/1,  .2/2 ,  .2/4 
5.1     2/1,  .2/2,   .2/5
รวมทั้งหมด   21  ตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
 22102    ภาษาไทย 4                                                         กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2     ภาคเรียนที่ 2         เวลา  60  ชั่วโมง                  จำนวน     1.5     หน่วยกิต
.............................................................................................................................................................
            อ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ  อภิปรายแสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง ระบุข้อสังเกตการชวนเชื่อ  การโน้มน้าวหรือความสมเหตุสมผลของเขียน ประเมินค่าหรือแนวความคิดที่ได้จากการอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ แสดงความรู้ความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากเรื่องที่อ่าน พูดในโอกาสต่าง ๆ พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นจากการศึกษาค้นคว้า แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ รวบรวมและอธิบายความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน สรุปความรู้ และข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมพร้อมยกเหตุผลประกอบ  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การดู การพูดและการเขียน
            โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การพูด การคิดวิเคราะห์ การปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม และหลักการอ่านออกเสียงมีบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง ทักษะการอ่านจับใจความสรุปความ อธิบายวิเคราะห์ความ ทักษะการฟัง การพูด การเล่าเรื่อง การเขียนรายงาน การแต่งบทกลอน หลักการพูดและเขียนคำในภาษาต่างประเทศ
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด     
1.1     .2/4, .2/6,  .2/7
2.1     .2/5,  .2/7
3.1     .2/4,  .2/5,   .2 /6 
4.1     .2/3 , .2/5
5.1     .2/3 , .2/4
รวมทั้งหมด   12  ตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
23101  ภาษาไทย 5                                                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      ภาคเรียนที่ 1                เวลา   60  ชั่วโมง        จำนวน     1.5    หน่วยกิต
.............................................................................................................................................................
ศึกษาหลักการอ่าน การฟัง การพูด การดู ทั้งการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง การอ่านทำนองเสนาะ การจับใจความ การวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ ตีความ และการสรุป ในลักษณะแผนผัง ความคิด หลักการคัดลายมือ การเขียนในโอกาสต่าง ๆ  การย่อความ การเขียนอัตชีวประวัติและชีวประวัติ ตลอดจนการเขียนแสดงความคิดเห็น การประเมินเรื่องจากการฟัง การอ่าน การดู โดยนำเสนอในรูปแบบการพูด หรือ เขียนอธิบาย สนับสนุน โต้แย้ง พูดรายงานจากการศึกษาค้นคว้าและใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา จำแนกคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ คำศัพท์ทางวิชาการ ศัพท์วิชาชีพ และการแต่งโคลงสี่สุภาพ  ศึกษาวรรณคดี วรรณกรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ท่องจำและบอกคุณค่า บทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
            โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การพูด การคิดวิเคราะห์ การปฏิบัติ กระบวนการสืบค้น กระบวนการกลุ่ม และหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทักษะการอ่านจับใจความ สรุปความ อธิบาย วิเคราะห์ ทักษะการฟัง การพูดแสดงความคิดเห็น การเขียนรายงาน การแต่งโคลงสี่สุภาพ หลักการพูดและการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ
            เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม มีนิสัยรักการอ่าน



รหัสตัวชี้วัด     
1.1     .3/1,   .3/2,   .3/3,   .3/4,   .3/5,    .3/9 , .3/10
2.1     .3/1 ,  .3/2,   .3/3 ,  .3/4 ,  .3/6,   .3/10
3.1     .3/1,   .3/2,   .3/3,   .3/4 
4.1     .3/1 ,  .3/3,   .3/4 ,  .3/5,   .3/6
5.1     .3/1,   .3/2 ,  .3/3,   .3/4 


23102    ภาษาไทย 6                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2                             เวลา  60  ชั่วโมง     จำนวน   1.5   หน่วยกิต
.............................................................................................................................................................
ศึกษาหลักการอ่าน การฟัง การพูด การดู ทั้งการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง การอ่านทำนองเสนาะ การจับใจความ การวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ ตีความ และการสรุป ในลักษณะแผนผัง ความคิด การคัดลายมือ การเขียนในโอกาสต่าง ๆ  การย่อความ การเขียนจดหมายกิจธุระ การเขียนอัตชีวประวัติและชีวประวัติ ตลอดจนการเขียนแสดงความคิดเห็น การประเมินเรื่องจากการฟัง การอ่าน การดู โดยนำเสนอในรูปแบบการพูด หรือ เขียนอธิบาย พูดโน้มน้าว สนับสนุน โต้แย้ง จากสื่อต่าง ๆ การกรอกใบสมัครงาน การเขียนรายงาน โครงงาน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเขียน  พูดรายงานจากการศึกษาค้นคว้าและใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา วิเคราะห์โครงสร้างประโยคความรวม ประโยคซับซ้อนและการแต่งโคลงสี่สุภาพ ศึกษาวรรณคดี วรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำนานในระดับที่ยากยิ่งขึ้น งานเขียนเชิงสร้างสรรค์และหนังสืออ่านนอกเวลา ประเมินคุณค่าสรุปออกมาในรูปแบบหนังสือเล่มเล็ก ท่องจำและบอกคุณค่า บทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
            โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การพูด การคิดวิเคราะห์ การปฏิบัติ กระบวนการสืบค้น กระบวนการกลุ่ม และหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว ร้อยกรองบทร้อยกรอง  ทักษะการอ่านจับใจความ  อธิบายวิเคราะห์ความ ทักษะการฟัง การพูด  แสดงความคิดเห็น การประเมินค่า      เพื่อให้มีมารยาทในการฟัง  การดู  การพูด การใช้ภาษาไทย และมีนิสัยรักการอ่าน เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้ศึกษา และนำไปใช้อ้างอิงอย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม

รหัสตัวชี้วัด     
1.1     .3/1,  .3/6,   .3/7,   .3/8,   .3/9,   .3/10
2.1     .3/2 , .3/3,   .3/5,   .3/7,   .3/8,   .3/9 ,  .3/10
3.1     .3/2,  .3/4,    .3/5,   .3/6 
4.1     .3/2 , .3/6
5.1     .3/1 ,.3/2,   .3/3,   .3/4
รวมทั้งหมด   23  ตัวชี้วัด